top of page

ประวัติความเป็นมา

             “หอการค้า” หมายถึง สถาบันเอกชนที่กลุ่มบุคคลจัดตั้งขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน และเศรษฐกิจ โดยมิใช่เป็นการแสวงผลกำไรหรือหารายได้มาแบ่งปันกัน หอการค้ามีสถานภาพทางกฎหมายเป็น “นิติบุคคล“ เมื่อได้รับอนุญาตและจดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ในประเทศไทยมีหอการค้าอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน คือ

 

  1. หอการค้าจังหวัด

  2. หอการค้าไทย

  3. หอการค้าต่างประเทศ

  4. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 

หน้าที่ของหอการค้า

  1. ส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน และเศรษฐกิจโดยทั่วไป เช่น

    1. รวบรวมสถิติ เผยแพร่ข่าวสารทางการค้า วิจัยเกี่ยวกับการค้าและการเศรษฐกิจ

    2. ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

    3. ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)

    4. วางมาตรฐานคุณภาพของสินค้า ตรวจสอบมาตรฐานสินค้า

    5. จัดตั้งและดำเนินการสถานศึกษาที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ

    6. จัดตั้งพิพิธภัณฑ์สินค้า และจัดงานแสดงสินค้า

    7. ทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาททางการค้า

  2. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ แก่สมาชิกเกี่ยวกับการค้า อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การเงิน และเศรษฐกิจ และช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก

  3. ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะแก่รัฐบาล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

  4. ประสานงานในทางการค้า ระหว่างผู้ประกอบการค้า กับทางราชการ

  5. ช่วยเหลือและส่งเสริมการกุศล และสาธารณสงเคราะห์

  6. ปฏิบัติกิจการอื่นๆ ตามแต่กฎหมายจะระบุให้เป็นหน้าที่ของหอการค้า หรือตามที่ทาง ราชการมอบหมาย

สิทธิประโยชน์ในการเป็นสมาชิก
สมาชิกหอการค้า สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมของหอการค้าจังหวัด ตลอดจนใช้บริการของหอการค้า ดังนี้-.ได้รับบริการจากหอการค้าโดยไม่เก็บค่าบริการ ดังนี้-.

  1. ได้รับความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา เมื่อประสบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ อันเกี่ยวเนื่องกับกฎ ระเบียบ หรือนโยบายทางราชการ ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด

  2. ได้รับความช่วยเหลือและคำปรึกษาแนะนำทางด้านการค้า การลงทุน

  3. ได้รับการนำชื่อกิจการพิมพ์ลงในสื่อสิ่งพิมพ์ของหอการค้า อาทิ จัดพิมพ์ลงในหนังสือ ทำเนียบสมาชิกหอการค้า จัดพิมพ์เผยแพร่ใน Web Site ของหอการค้า เป็นต้น เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของสมาชิกสู่ตลาดเป้าหมาย

  4. ได้รับข่าวสารทางด้านเศรษฐกิจจากหอการค้าฯ เป็นประจำ ทั้งในรูปจดหมาย หนังสือพิมพ์, E-mail และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่หอการค้าฯ จัดทำขึ้น รวมถึงการเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข่าวสารในระหว่างสมาชิกโดยผ่านสื่อของหอการค้าฯ

  5. เมื่อมีกรณีพิพาททางการค้า หอการค้าฯ จะให้ความช่วยเหลือในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการค้านั้นๆ ในรูปของคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ

  6. กิจการของสมาชิกจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกับนักธุรกิจต่างประเทศที่มาติดต่อที่หอการค้าฯ หรือติดต่อมาทางจดหมาย โทรสาร E-mail ฯลฯ

  7. ได้รับเชิญร่วมพบปะเจรจาทางการค้ากับคณะนักธุรกิจต่างประเทศ ที่มาเยือนหอการค้าจังหวัด ตามประเภทธุรกิจการค้าของผู้มาเยือน

  8. ได้รับเชิญเข้าร่วมอบรมสัมมนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ในบางกรณี)

  9. บริการห้องสมุดซึ่งรวบรวมเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนเอกสารทางวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ

สมาชิกของหอการค้า

 

ประวัติการก่อตั้งหอการค้าจังหวัดนครปฐม

                   ทางจังหวัดนครปฐมได้มีการประชุมเตรียมการจัดตั้ง กรอ.จังหวัด เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2528 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมสามัคคีมุขมาตย์

 

                   มติที่ประชุม     -        ได้ลงมติให้มีการจัดตั้งหอการค้าจังหวัดก่อน โดยให้ผู้เข้าประชุมและผู้สนใจร่วมกันเป็นผู้ก่อการจัดตั้งหอการค้าจังหวัด ที่ประชุมได้ตกลงให้คุณสวัสดิ์ สุวรรณนที เป็นประธานดำเนินการ ให้พาณิชย์จังหวัดสนับสนุนประสานงานการจัดตั้ง เผยแพร่ชี้แจงแนะนำ ได้มีการชี้แจงให้กับสมาชิกของสโมสรโรตารีนครปฐม และได้เชิญเข้าประชุมเพื่อร่วมเป็นผู้ก่อการ ที่โรงแรมเวล

 

                   มีผู้ก่อการทั้งหมด 26 ท่าน ซึ่งมีการประชุมหลายครั้ง เพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับการจดทะเบียน และได้ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2528 ได้รับอนุมัติและจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2528

bottom of page